วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553



บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี




กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศสังคม สารสนเทศเป็นสังคมใหม่


การอยู่ร่วมกันในสังคมสารสนเทศ จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์


เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน


ทุกวันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวัน


มีการใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้


เทคโนโลยี สารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้น


จึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ


และเมื่อมีกฎหมายแล้ว


ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธ


ความผิดว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ทำไมจึงต้องมีการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


ด้วยความก้าวหน้า ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ทำให้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน


อัตโนมัติ ตลอดจนเครื่องมือ สื่อสารเพื่อการประกอบกิจการงาน


และการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเทคโนโลยีเอื้อประโยชน์


ต่อการทำงานด้านต่าง ๆ ทำให้มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


มากขึ้นเรื่อย ๆ การมีกฎหมาย จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ


และความเชื่อมั่น ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์


และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce E-Business) โดย


ที่นานาชาติที่พัฒนาแล้ว ต่างพัฒนากฎหมายของตนเอง


โดยเน้นความเป็นสากล ที่จะติดต่อค้าขายระหว่างกัน


ด้วยเหตุนี้


ประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นกัน


หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ของสถานการทำงานขององค์กรทั่วไป


ทุกองค์กรกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมสารสนเทศ มีความพยายามที่จะ


ลดการใช้กระดาษเอกสาร หันมาใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แทน


และนำมาแลกเปลี่ยน (EDI) กันได้ง่าย ขณะเดียวกัน


การดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การฝากถอนเงินอัตโนมัติ


การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน


มีการซื้อขายสินค้า ผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น


มีการบริหารรายการย่อยขององค์กร ผ่านทางเครือข่าย


มีการทำงานระบบออนไลน์ ที่สามารถเปิดบริการ


การทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยหลายประเทศ


เช่น สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ล้วนมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของตน แล้ว สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์


และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นผู้ร่าง


มีการกำหนดกฎหมายที่จะร่างทั้งสิ้นหกฉบับกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์


เน้นในเรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย ถ้าข้อมูล ได้จัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


โดยสามารถที่จะเข้าถึงเพื่อนำข้อความออกมาใช้ในภายหลังได้ ให้ถือว่า


ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว


(มาตรา 6 และมาตรา 7) โดยมีการพิสูจน์หลักฐานที่เป็น


ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 10)


ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งและรับผ่านเครือข่ายเพื่อ


รองรับวิทยาการสมัยใหม่ กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


เน้นในเรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิตอล (digital signature)


เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน และองค์กรที่ทำ


หน้าที่ออกใบรับรองลายมือชื่อ


การประกอบการรับรองลายมือชื่ออนุญาต


ตลอดจนการกำกับการประกอบการรับรอง


เพื่อให้ระบบลายมือชื่อดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งเสมือนการลงลายมือชื่อในเอกสาร


กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์


เป็นกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลความสงบสุขของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การ ละเมิดสิทธิ์ โดยเฉพาะผู้บุกรุกหรือ hacker ที่ถือว่าเป็นการกระทำ การบุกรุก และเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากข้อมูลในรูปดิจิตอลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบ ถึงสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายจึงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกิจการทางด้านการเงิน และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบที่เป็นทั้ง eCash eMoney หรือ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกัน จะมีบทบาท มีการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้รูปแบบเอกสารการเงิน อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ กฎหมายลำดับรองรัฐธรรมนูญมาตรา 78 เน้นให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและ ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั้งประเทศ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีส่วนช่วยในการสร้างประโยชน์ ในเรื่องความสงบสุข และลดอาชญากรรมทาง ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการ ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ของไทยกำลังอยู่ในระดับการร่าง โดยสองฉบับแรก กำลังเข้าสู่สภาในการประชุม สมัยต่อไป ซึ่งคาดว่า จะแล้วเสร็จในอีกไม่นาน กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับ การสร้างความน่าเชื่อถือ และความสงบสุขของคนใน สังคมสารสนเทศ สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน จะต้องรู้ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองการดูแลสิทธิ ของตนเอง ไม่นำสิทธิของตนเองไปให้ผู้อื่นใช้ ซึ่งหากผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น นำรหัสลับของตนเองไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เจ้าของจะต้องรับผิดชอบ และจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้แหล่งที่มา ...(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) http://www.ku.ac.th




บทความการศึกษา

การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้

1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ

3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น

4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ

5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ ด้วยการพัฒนาการศึกษากันเถิด

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยว
















แก่งหินเพิง









แหล่งท่องเที่ยวเชิญผจญภัย กิจกรรมยอดนิยมของคนผจญภัยหัวใจสีเขียว พร้อมเปิดฤดูกาลล่องก่งน้ำใส... ต้องไปหินเพิง อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี นายศิริพงษ์ ห่านตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัย “กิจกรรมล่องแก่งหินเพิง” ไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาพักผ่อนและเล่นกิจกรรมในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ชมรมผู้ประกอบการล่องแก่งหินเพิง จัดงาน “เทศกาลล่องแก่งหินเพิง” เปิดตัวเทศกาลในวันที่ 23 – 27 กรกฎาคม 2553 ณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 9 (แก่งหินเพิง) อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ สร้างสีสันให้ ลำน้ำใสใหญ่ได้คึกคัก อาทิ การแข่งขันเรือยางล่องแก่งหินเพิง การแข่งขันเปตอง การแสดงปั่นจักรยานล้อเดียว การแสดงรำวงย้อนยุค จัดแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น นางบังอร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมการล่องแก่งหินเพิง เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ด้วยลักษณะของแก่งมีความยากระดับ 3 - 5 การล่องต้องใช้ทักษะและความระมัดระวัง ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ตลอดช่วงของเส้นทางล่องแก่งจึงมีหน่วยรักษาความปลอดภัยประจำทุกจุด ทุกคนผ่านการฝึกอบรม และทดสอบการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ โดยในปีนี้กำหนดจัดฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการในวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2553 ก่อนการเปิดฤดูกาลล่องแก่งหินเพิงเพื่อเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวได้เดินทางท่องเที่ยวอย่างครบรสทั้งสนุกและปลอดภัย



























วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทความเกี่ยวกับการใช้อินเตอร็เน็ต



บทความเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต

1.อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราแล้ว เราสามารถทราบข่าวสารเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการวิทยุ และจากแหล่งข่าวสารมากมายทั่งทุกมุมโลก ทุกวันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตให้เราทำความรู้จักและศึกษาเพิ่มเติม หนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็ยังลงบทความเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของอินเตอร์เน็ตและใช้งานจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการเปิดสอนเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทบนอินเตอร์เน็ต จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นบางรายวิชา เช่น การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนของนิสิตปริญญาโทโสตทัศนศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น
ทุกวันนี้มีการสร้างโปรแกรมประยุกต์ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมากมาย มีสถานีให้บริการเว็บ เกิดขึ้นทั่วโลก ในแต่ละวันมีสถานีใหม่ๆ เกิดขึ้นให้เราเข้าไปใช้งาน จำนวนผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนต่างพยายามขวนขวายหาทางให้ตนเองมีหมายเลขบัญชีบนอินเตอร์เน็ต (Internet Account) หรือเป็นสาขาย่อย (Node) ของศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เพื่อบริการแก่เจ้าหน้าที่ พนักงานใหม่ในหน่วยงานของตน

2.อันตรายจากอินเตอร์เน็ต
ประเทศไทยมีการนำระบบอินเตอร์มาใช้หลายปี ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานภายในหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ต่อมามีการนำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป ในปี พ.ศ. 2537 แต่ไม่ได้รับความนิยม สำหรับปี พ.ศ. 2539 แตกต่างกันออกไป ผลจากการที่มีข่าวปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีการนำภาพดารามาตกแต่งเป็นภาพโป๊เปลือย แล้วนำไปแจกจ่ายบนอินเตอร์เน็ต กระแสความสนใจเกิดขึ้น ผู้คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจกับอินเตอร์มากขึ้นทุกที
อันตรายของอินเตอร์เน็ตที่พบเห็นได้เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ต ผิดประเภทผิดวัตถุประสงค์ และใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อกล่าวหาและโจมตีคู่แข่ง เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถกระจายไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
แต่อย่างไรอันตรายที่เกิดจากอินเตอร์เน็ตก็นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่เราจะได้รับ

3.ประโยชน์ของเว็บเพจ
เว็บเพจเป็นการรวบรวมข้อมูล รูปภาพ และเนื้อหาด้านมัลติมีเดียโดยส่วนใหญ่จะสร้างจากภาษา HTML เมื่อเว็บบราวเซอร์เปิดดูเว็บเพจ มันจะทำการโหลดข้อมูลของเว็บเพจที่เขียนด้วยภาษา HTML นั้น และแสดงข้อมูลตามที่กำหนด การสร้างเว็บเพจเพื่อเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ดังนี้
- สร้างโฮมเพจที่มีข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้คนทั้งโลกรู้จัก
- สร้างเว็บเพจขององค์กรเพื่อประชาสัมพันธ์ขายสินค้าและบริการ
- สร้างเว็บเพจเพื่อให้ความรู้แก่คนทั่วไป
- สร้างเว็บเพจเพื่อกระจายข่าวสารขององค์กร ที่เปิดดูได้ทุกเวลา
- สร้างฐานข้อมูลที่เป็นเหมือนห้องสมุดที่สามารถค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการได้

4.ข้อคิดก่อนการว่างแผนการสร้างเว็บเพจ
การสร้างเว็บเพจหรือเว็บไซต์ไม่ต่างจากการออกแบบสื่ออื่นๆ จะแตกต่างกันตรงที่ เว็บเพจสามารถทำงานลักษณะของการปฏิสัมพันธ์เท่านั้นแนวทางที่จะช่วยให้การมีเว็บที่สร้างขึ้นมีประโยชน์ และน่าสนใจมากแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยือน มีดังนี้
- ตั้งจุดประสงค์ โดยถามตนเองก่อนว่าสร้างเว็บเพจเพื่ออะไรเพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนของงานที่สร้างขึ้น
- อย่าใช้เวลาในการออกแบบมากเกินไป การออกแบบเว็บเพจไม่เหมือน การออกแบบสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น ผู้สร้างไม่สามารถควบคุมภาพที่ปรากฏออกทางหน้าจอมอร์นิเตอร์ของผู้ชมหรือคาดคะเนสิ่งที่แต่ละคนจะได้พบ เช่น โมเด็มและความเร็วในการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย การกำหนดแบบและขนาดตัวอักษรและสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในบราวเซอร์
- ใส่เนื้อหาที่ดีและน่าสนใจลงในหน้าแรก ทั้งนี้เนื่องจากคนที่แวะเยี่ยมเว็บไซต์ ก็เหมือนเห็นปกหนังสือครั้งแรก ย่อมจะสนใจในสิ่งที่มองเห็นครั้งแรก
- คำนึงถึงเวลาในการเข้าถึงเว็บไซต์ การเข้าถึงเว็บหรือการดาวน์โหลดข้อมูล ที่ต้องการขึ้นอยู่กับข้อมูลที่บรรจุในเว็บ การใส่กราฟิกลงในเว็บมาเกินไปเป็นการเสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูล
- การรู้จักกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มประชากร ประชากรส่วนใหญ่ที่ใช้เว็บ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นเจ้าของภาษา หรือใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง
- เลือกใช้ข้อความที่สั้นและกระชับ การบอกเล่าข้อความที่สั้นกระชับถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งช่วยให้เกิดความน่าสนใจชวนอ่าน ง่ายต่อการจดจำ
- หาสิ่งใหม่ๆ บรรจุลงไปในเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบการลองเข้าไปค้นหาและสำรวจดูตามเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ หรือเว็บไซต์ที่มีจุดประสงค์เดียวกับของเรา ดูว่ามีอะไรใหม่ น่าสนใจอะไรบ้างสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของเราได้หรือไม่
- กำหนดขอบเขตและวิธีการประเมินความสำเร็จไว้ในการสร้างข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นชัดเจน ประเภทของผู้อ่าน จำนวนผู้ที่แวะเข้ามาในเว็บไซต์หรืออาจจะดูจำนวนส่ง E-mail หรือการโทรศัพท์เข้ามา

5.การออกแบบและการสร้างสื่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การออกแบบและการสร้างสื่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของทุกๆ คน เพราะต่างต้องเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และใช้เป็นประจำวัน ทุกคนต้องสร้างช่องทาง เพื่อที่จะสื่อสารสารสนเทศไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เกิดผลที่รวดเร็วตามต้องการ สื่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ดีเยี่ยมในยุดนี้ คือคอมพิวเตอร์ซึ่งมีให้เลือกใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การนำเสนอ โปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้มัลติมีเดีย ในการนำเสนอเรื่องเนื้อหาที่มีการสัมพันธ์กับผู้ใช้ และการสร้างเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือมีจุดประสงค์อื่นสำหรับผู้เข้ามาเยี่ยมชม
การออกแบบเว็บไซต์หนึ่งๆ คล้ายกับการสร้างเอกสารหรือหนังสือหนึ่งเล่ม คือ มีปกหนังสือของเว็บไซต์และมีเนื้อหาของหนังสือแบ่งเป็นหน้าเปรียบได้กับหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์นั่นเอง การสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจชี้ชวนให้ผู้ที่เข้าไปศึกษาแล้วแวะเวียนมาอีก นอกจากมีเนื้อหาสาระดีแล้วจะต้องออกแบบให้ตรงกันกับความต้องการของผู้ชม เช่น สวยงาม ง่ายต่อการเข้าหาเนื้อหา การสร้างเว็บไซต์และเว็บเพจให้มีประโยชน์และน่าสนใจควรมีขั้นตอนการออกแบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การวิเคราะห์งาน การสร้างเว็บไซต์หนึ่งๆ ผู้สร้างต้องนึกถึงผู้ดูก่อนว่าเป็นกลุ่มใด เนื้อหาสาระอะไร ผู้สร้างจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ดู เรื่องอะไร ใช้สื่อแบบใด รวมทั้งให้เกิดผลอย่างไร ในขั้นตอนนี้ผู้สร้างจะต้องรู้จักการวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่จะนำมาสร้างเว็บไซต์หนึ่งๆ นั้นจะแบ่งเป็นหน่วยย่อยต่างๆ ได้เท่าใด จึงครอบคลุมเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่กำหนด
2. การออกแบบ ขั้นตอนการออกแบบจะต้องสามารถแปลมโนทัศน์หลักการในแต่ละเรื่องหรือเนื้อหาย่อยให้เป็นภาพให้ได้ เพราะการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ทางสายตานั้นผู้เรียนจะรับรู้ได้มากที่สุด เปรียบเสมือนการสร้างถนนสิบเลนให้ผู้ดูขับรถผ่าน
3. การพัฒนาเว็บไซต์และเว็บเพจ เป็นการดำเนินการสร้างตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ในสคริปต์ ถ้าผู้ออกแบบได้ออกแบบเว็บหน้าต่างๆ ไว้ชัดเจนการพัฒนาก็สะดวกและง่าย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องลงมือผลิตเองต้องมีคำอธิบายต่างๆ มากมาย จึงจะทำให้งานตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ การลงมือสร้างเว็บเพจจะต้องอาศัยทักษะด้านการออกแบบ เช่น การสร้างตัวอักษร การเขียนและ การเลือกภาพ
4. การปรับปรุงและแก้ไข เว็บไซต์ที่ได้ออกแบบมาอย่างดีไม่ได้หมายความว่าจะดีดังที่ใจผู้สร้างคิด เพราะผู้ที่สร้างเว็บไซต์นั้นดีหรือไม่ดีนั้นก็คือชมนั้นเอง ดังนั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนำไปทดลองใช้ และการปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมในขั้น การปรับปรุงแก้ไขนี้ ผู้ออกแบบเว็บไซต์หรือเว็บเพจจะสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนที่ผ่านมา ตั้งแต่การวิเคราะห์ การออกแบบและการพัฒนา เพื่อที่จะให้เว็บที่สร้างขึ้นทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ชม
ปฏิบัติการสร้างสื่อสารสนเทศสองรูปแบบ
การสร้างสารสนเทศหรือสื่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะเป็นการนำเสนอ (Presentation) ซึ่งอาจจะใช้ห้องที่จัดไว้โดยเฉพาะโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ หรือฉายด้วยเครื่องฉาย ส่วนอีกประเภท ได้แก่ การสร้างสารสนเทศและนำไปเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต สำหรับเทคนิคการสร้างมีความแตกต่างกันเล็กน้อย

6.ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน 2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ